อสังหาริมทรัพย์ขายฝากมีเงื่อนไขการดำเนินการอย่างไร 


อสังหาริมทรัพย์

การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของบุคคลธรรมดาและผู้ประกอบการ โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย มั่นใจว่ามีความน่าเชื่อถือและได้วงเงินค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการจำนอง แต่อย่างไรก็ตามมีบางเงื่อนไขการดำเนินการที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ แต่จะมีรายละเอียดยังไงไปดู 

อสังหาริมทรัพย์ขายฝากมีเงื่อนไขหรือต้องทำความเข้าใจอะไรบ้าง 

สำหรับอสังหาริมทรัพย์ขายฝากมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ต้องทำความเข้าใจ ดังต่อไปนี้ 

  • การทำสัญญาขายฝากจัดเป็นนิติกรรมการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง โดยผู้รับซื้อฝากจะมีสิทธิ์การเป็นเจ้าของทรัพย์สินของผู้ขายฝากทันที แต่ผู้ขายมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์สินของตนกลับคืนไปได้แต่ต้องดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดและระยะเวลาที่ระบุในสัญญา 
  • ระยะเวลาการทำสัญญา ขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ กรณีเป็นอสังหาระยะเวลาจะไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี หากผู้ขายไม่ซื้อคืนตามกำหนดเวลาทรัพย์สินดังกล่าวต้องตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยสมบูรณ์ 
  • ต้องทำใจเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีรายละเอียดยิบย่อยค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ค่าธรรมเนียม ค่าประเมินราคา ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ค่าอากรแสตมป์ ไปจนถึงค่านายหน้า และอื่น ๆ อีกมากมาย 
  • กรณีต้องการขยายเวลา ผู้ขายฝากจำเป็นต้องมีการดำเนินการต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานที่ดินและมีเอกสารหลักฐานชัดเจนทุกครั้ง 

ข้อควรระวังก่อนทำสัญญา 

สำหรับข้อควรระวังก่อนทำสัญญาอสังหาริมทรัพย์ขายฝากหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้ 

  • การคิดอัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 15% ต่อปี โดยต้องมีการระบุอย่างชัดเจนว่าชำระตอนไหน เช่น ตั้งแต่วันที่ขายฝากจนถึงวันครบกำหนด 
  • ภายในสัญญาต้องระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ประเภทไหน เช่น ขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขายฝากที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย 
  • มีการระบุข้อมูลรายการสำคัญครบทุกประเด็น ได้แก่ ระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา แจกแจงรายละเอียดรายการ และลักษณะของทรัพย์สินหรือที่ดินที่จะขายฝาก แจกแจงราคาขาย ระบุจำนวนเงินสินไถ่และระบุวันที่ขายฝากและวันที่ครบกำหนดไถ่ 

ข้อกำหนดในการไถ่ถอนอสังหาจากการขายฝาก  

กรณีต้องการไถ่ถอนอสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากสามารถดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 

  • ตรวจสอบอสังหาโดยรวมทั้งหมดเพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ก่อภาระใด ๆ  
  • ผู้ซื้อฝากต้องส่งหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์แก่ผู้ขายฝาก เกี่ยวกับกำหนดเวลาไถ่ถอนและจำนวนสินไถ่ พร้อมแนบสำเนาสัญญาขายฝากล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือน กรณีผู้ซื้อฝากไม่ได้ดำเนินการแจ้งหนังสือใด ๆ ผู้ขายฝากมีสิทธิ์ไถ่ถอนที่ดินได้ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันครบกำหนดไถ่ถอน 
  • เอกสารที่ต้องเตรียมหลัก ๆ ประกอบไปด้วยโฉนดที่ดินฉบับจริง บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี) ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนไถ่ถอนที่ดิน อากรแสตมป์ 0.5% ของราคาทุนทรัพย์ในการจดทะเบียน และเรียกเก็บประเภทไม่มีสินทรัพย์แปลงละ 50 บาท 

สรุปได้ว่าอสังหาริมทรัพย์ขายฝากนั้นมีหลายเงื่อนไขที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา การทำสัญญา ข้อมูลสำคัญ หรือแม้กระทั่งข้อกำหนดการไถ่ถอน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจดำเนินการ